วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประเมินทารกแรกเกิดทันที


  1. การประเมินภาวะสุขภาพทารกทันทีหลังเกิด

            ในระยะแรกเกิด ทารกมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่าง  เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
    ภายนอกครรภ์มารดา แต่อวัยวะต่าง ๆยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ทารกแรกเกิดไม่สามารถ
    ปรับตัวได้ดีอาจมีความผิดปกติต่าง  ๆ  เกิดขึ้นได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้ทารกแรกเกิดมีการเจ็บป่วย
    หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลจึงควรมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินภาวะสุขภาพ
    ของทารกโดยเฉพาะในระยะทันทีหลังเกิด  เพื่อจะได้ช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ
    ได้ทันท่วงที


    วัตถุประสงค์ของการประเมินภาวะสุขภาพ
    1. เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดของทารกแรกเกิด
    2. เพื่อประเมินภาวะการเจ็บป่วยของทารกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์  หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น ระหว่างคลอด
    3. เพื่อนำผลการประเมินภาวะสุขภาพของทารกมาเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาล
    4. เพื่อเป็นเกณฑ์สำหรับเปรียบเทียบหรือติดตามการเจริญเติบโตของเด็กต่อไป
    5. เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการให้ความรู้แก่บิดามารดาหรือญาติของทารกแรกเกิด 
    6. การประเมินภาวะสุขภาพของทารกทันทีหลังเกิด  ประกอบด้วย
      1. ประวัติการตั้งครรภ์  และการคลอดของมารดา  
       
                        ทารกที่มารดามีปัญหาต่าง ๆ  ระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด  จะทำให้ทารกเกิด
      ความผิดปกติหรือเจ็บป่วยได้ ดั้งนั้นพยาบาลควรจะทราบประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
      ของมารดา  เพื่อจะได้ให้การดูแลและเฝ้าระวังดูอาการของทารก และช่วยเหลือทารกได้ทันท่วงที  ปัจจัยเสี่ยงต่าง  ๆ  ได้แก่

      1.1 ทารกที่มารดามีประวัติการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง  ได้แก่
      • อายุของมารดาน้อยกว่า 16 หรือมากกว่า 40 ปี
      • เศรษฐฐานะต่ำ
      • สถานภาพไม่จดทะเบียนสมรส
      • ใช้ยาหรือสารเสพติด  บุหรี่  สุรา
      • มีความเครียดทางด้านร่างกายหรือจิตใจขณะตั้งครรภ์
      1.2  ประวัติความเจ็บป่วยของมารดา   ได้แก่
      • DM
      • Hypertension
      • Heart Disease
      • อื่น ๆ
      1.3  ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
      • ทารกตายในครรภ์
      • ทารกตายหลังคลอด
      • คลอดก่อนกำหนด
      • ทารกที่มี  intrauterine  growth  retardation
      • Congenital  malformation
      • อื่น  ๆ
      1.4 ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
      • Inadequate  prenatal  care
      • Acute  medical  หรือ  surgical  illness
      • Vaginal  bleeding
      • Sexually  transmitted  diseases
      • Multiple  gestation
      • Pre eclampsia
      • Premature rupture of the membrane (PROM)
      • อื่น  ๆ
      1.5 ประวัติการคลอด
      • Premature  labor  (<37wk)
      • Post  date  (³ 42 wk)
      • Fetal  distress
      • Breech  presentation  หรือ  malpresentation  อื่น  ๆ
      • Meconium  stained  fluid
      • Cesarean  section
      • Forceps or vacuum delivery
      • Apqar  score  <7 at  1 min
      • และอื่น ๆ
        การประเมิน Apqar  Score

        เป็นการประเมินความสามารถของทารกในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมภายนอกมดลูก  โดยจะประเมินภายใน  1 นาที 5นาที และ 10 นาทีภายหลังเกิด
        •  ถ้าคะแนนรวมใน 1 นาทีแรกเท่ากับ 0 - 3 คะแนน แสดงว่า ทารกมีภาวะขาดออกซิเจน

        •  ถ้าคะแนนรวมใน 1 นาทีแรกอยู่ระหว่าง 4-6 คะแนนแสดงว่าทารกมีภาวะขาดออกซิเจนในเลือดบ้าง

        • แต่ไม่มาก

        •  ถ้าคะแนนรวมใน 1 นาทีแรกอยู่ระหว่าง 7 - 10 คะแนน  แสดงว่าทารกอยู่ในภาวะปกติ


        3. การประเมินอายุในครรภ์
             เป็นการประเมินอายุของทารกในระยะอยู่ในครรภ์มารดา  เพื่อนำมาใช้ในการดูแล
        ทารกซึ่งมีหลายวิธีและวิธีที่นิยมใช้ ได้แก่  
        •   วิธีของ  Dubowitz  โดยใช้ลักษณะภายนอก ร่วมกับการตรวจระบบประสาทโดยให้เป็นคะแนน แล้วนำมารวมกัน เพื่อหาอายุในครรภ์วิธีนี้ไม่ค่อยสะดวก จะใช้ในทารกป่วยหนักหรือทารกที่ใช้เครื่องช่วย หายใจ
        •   วิธีของ  Ballard  ซึ่ง  Ballard  ในปี  พ.ศ. 2522  ได้ดัดแปลงจากวิธีของ Dubowitz    โดย ใช้ลักษณะ ภายนอก 6 อย่าง และการตรวจทางระบบประสาท 6 อย่าง จะช่วยบอกอายุในครรภ์ได้ดี ทั้งในทารกปกติ และ ทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ  เมื่อรวมคะแนนแล้ว
        •                     ถ้าทารกมีอายุในครรภ์มารดาน้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือน้อยกว่า 259 วัน หมายถึง ทารกเกิดก่อนกำหนด (Preterm )
            ถ้าทารกมีอายุในครรภ์มารดาตั้งแต่ 37 สัปดาห์เต็มถึง 42 สัปดาห์เต็ม หรือ 259 วันถึง 293 วันหมายถึง ทารกเกิดครบกำหนด (Term)
            ถ้าทารกมีอายุในครรภ์มารดามากกว่า 42 สัปดาห์ หรือตั้งแต่ 294 วันขึ้นไป หมายถึง ทารกเกิดหลังกำหนด (Post term)
        4. การประเมินน้ำหนักตัวเป็นการจำแนกประเภทของทารกโดยใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์
        • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย (Low birth weight (LBW)) หมายถึงทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัม
        • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก (Very low birth weight (VLBW))หมายถึงทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด น้อยกว่า 1500 กรัม
        • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากมาก (Very very low birth weight (VVLBW))  หมายถึง  ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1000 กรัม
        • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวปกติ ( Full birth weight)  หมายถึงทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2500 กรัม
        • 5.  การตรวจร่างกาย  (Physical  assessment)

          เป็นการตรวจหาความพิการหรือความผิดปกติต่างๆ  จะได้นำไปวางแผนการพยาบาลต่อไป  วิธีที่ใช้ในการตรวจคือ  การสังเกต  การฟัง  การคลำ  และการเคาะโดยจะประเมินดังนี้  คือ
          1. Vital  Signs (การประเมินสัญญาณชีพ)
          2. Measurements
          3. Posture  
          4. การร้องไห้  
          5. Skin
          6. Head
          7. Face
          8. Eyes
          9. Ears
          10. Nose
          11. Mouth
          12. Neck
          13. Chest
          14. Lung
          15. Heart
          16. Abdomen
          17. Buttocks  and  anus
          18. Extremities
          19. Genitalia
          20. Stools
          21. Urine
          22. Reflexs



               

1 ความคิดเห็น: